วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2557

ซอฟต์แวร์และการเลือกใช้


1. ความหมาย ความสำคัญ และประเภทของซอฟต์แวร์
1. ความหมายของซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์ (software)
      หมายถึงชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงหมายถึงลำดับขั้นตอนการทำงานที่เขียนขึ้นด้วยคำสั่งของ คอมพิวเตอร์ คำสั่งเหล่านี้เรียงกันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จากที่ทราบมาแล้วว่าคอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่ง การทำงานพื้นฐานเป็นเพียงการกระทำกับข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสอง ซึ่งใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ หรือแม้แต่เป็นเสียงพูดก็ได้
          โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์จึงเป็นซอฟต์แวร์ เพราะเป็นลำดับขั้นตอนการทำงานของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งทำงานแตกต่างกันได้มากมายด้วยซอฟต์แวร์ที่แตกต่าง กัน ซอฟต์แวร์จึงหมายรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกประเภทที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำ งานได้

http://www.l3nr.org/posts/484051

2. ระบบปฏิบัติการ
  • การทำงานแบบ Multi – Tasking คือ ความสามารถในการทำงานได้หลาย ๆ งาน หรือหลาย ๆ 
  • โปรแกรมในเวลาเดียวกัน เช่น พิมพ์รายงานควบคู่ไปกับการท่องเว็บ ซึ่งในสมัยก่อนการทำงาน
  • ของระบบปฏิบัติการจะอยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า single-tasking ซึ่งจะทำงานทีละโปรแกรมคำสั่ง 
  • ผู้ใช้ไม่สามารถที่จะสลับงานไประหว่างโปรแกรมหรือทำงานควบคู่กันได้ แต่สำหรับในปัจจุบัน
  • จะพบเห็นลักษณะการทำงานแบบนี้มากขึ้น เช่น ในระบบปฏิบัติการ Windows รุ่มใหม่ ๆ
  •  ซึ่งทำให้การใช้งานได้สะดวกและทำงานได้หลาย ๆ โปรแกรม














 http://www.suwanpaiboon.ac.th/wbi/page/t8.htm  
3. โปรแกรมแปลภาษาคอมพิวเตอร์


การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ผู้เขียนโปรแกรมหรือที่เรียกว่าโปรแกรมเมอร์นั้น จะเลือกใช้ภาษาให้เหมาะสมกับลักษณะงานและความถนัด ของผู้เขียนโปรแกรม โปรแกรมที่เขียนขึ้นหรือที่เรียกว่าโปรแกรมต้นฉบับ จึงมีลักษณะโครงสร้างของภาษาที่แตกต่างกันออกไป ในการทำงานของคอมพิวเตอร์นั้น คอมพิวเตอร์จะไม่สามารถเข้าใจภาษาที่ใก้ลเคียงกับภาษามนุษย์ที่เรียกว่า ภาษาระดับสูง เนื่องจากคอมพิวเตอร์จะรับข้อมูลที่เป็นสัญญาณไฟฟ้าซึ่งแทนด้วยเลขฐานสอง (0 หรือ 1) หรือที่เรียกว่า ภาษาเครื่อง เท่านั้น ดังนั้นในการสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน จึงจำเป็นจะต้องมีตัวกลางที่ทำหน้าที่เสมือนเป็นนักแปลภาษา โปรแกรมที่นำมาใช้เรียกว่าโปรแกรมแปลภาษาคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะทำหน้าที่แปลภาษาระดับสูงที่เป็นโปรแกรมต้นฉบับ ให้อยู่ในรูปของโปรแกรมเรียกใช้งานที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจและสามารถทำ งานได้ ตัวแปลภาษาสามารถแบ่งตามลักษณะการทำงานได้เป็น 3 ประเภท
1. คอมไพเลอร์ (Compiler)
2. อินเตอร์พรีเตอร์ (interpreter) 
3. แอสเซมเบลอ (assembler)  


  http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/tech04/22/cit/3_3.html
4. โปรแกรมอรรถประโยชน์จัดการไฟล์


โปรแกรมอรรถประโยชน์หรือโปรแกรมยูทิลิตี้ (utility programs) เป็นซอฟท์แวร์ที่ทำหน้าที่เฉพาะอย่าง เพื่อการจัดการงานพื้นฐานและบริการต่างๆ เช่น การจัดเรียงข้อมูล (sort) การรวมแฟ้มข้อมูลที่เรียงลำดับแล้วเข้าด้วยกัน (merge) หรือย้ายข้อมูลจากอุปกรณ์รับหนึ่งไปยังอุปกรณ์หนึ่ง รวมทั้งสามารถใช้จัดการกับฮาร์ดแวร์โดยตรง โปรแกรมอรรถประโยชน์ส่วนใหญ่จะถูกรวมอยู่ในระบบปฏิบัติการอยู่แล้ว สามารถแบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภท ดังต่อไปนี้

๑) โปรแกรมอรรถประโยชน์สำหรับระบบปฏิบัติการ (OS utility programs) เป็นโปรแกรมที่ติดตั้งมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการอยู่แล้ว ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานร่วมกับฮาร์ดแวร์ ตัวอย่างโปรแกรม มีดังต่อไปนี


๑.๑) โปรแกรมจัดการไฟล์ (File manager) เป็นโปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อช่วยจัดการไฟล์ต่างๆ ได้แก่ การคัดลอกแฟ้มข้อมูล การเปลี่ยนชื่อแฟ้มข้อมูล การลบแฟ้มข้อมูล การเรียกใช้งานโปรแกรมต่างๆ ได้อย่างสะดวก นอกจากนี้ระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ๆ ได้เพิ่มความสามารถการแสดงไฟล์เป็นรูปภาพเหมือนจริง (image view) ทำให้การใช้งานมีความสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้ 



๑.๒) โปรแกรมยกเลิกการติดตั้งโปรแกรม (Uninstaller) เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการนำโปรแกรมและส่วนประกอบของโปรแกรมที่ติดตั้งไว้ใน ระบบออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่บริษัทผู้ผลิตซอฟท์แวร์จะติดตั้ง โปรแกรมยกเลิกการติดตั้งโปรแกรมไว้เป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมประยุกต์อยู่แล้ว 


๑.๓) โปรแกรมสแกนดิสก์ (disk scanner) เป็นโปรแกรมช่วยตรวจสอบความเสียหายหรือข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นกับฮาร์ดดิสก์ กล่าวคือ เมื่อใช้ฮาร์ดดิสก์เป็นเวลานาน มักเกิดส่วนที่เสียหาย ที่เรียกว่า bad sector ส่งผลให้การทำงานของ ฮาร์ดดิสก์ช้าลง หรืออาจทำให้การบันทึกหรือเขียนข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ยากขึ้น ดังนั้น ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรมดังกล่าวตรวจสอบฮาร์ดดิสก์ เพื่อค้นหาส่วนที่เสียหาย ไฟล์ที่มีข้อผิดพลาด และซ่อมแซมส่วนที่เสียหาย


ได้



http://thn21568tag31101-2-2.blogspot.com/2012/01/blog-post.html 

5. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป

.ซอฟแวร์ประยุกต์ทั่วไป (general purpose software) เป็นซอฟแวร์ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับงานให้เหมาะสมกับลักษณะ งานของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ เช่น การจัดพิมพ์รายงาน การนำเสนอ เป็นต้น ทั่วไปสามารถแบ่งออกได้เป็น 6 ประเภท ดังต่อไปนี้


ซอฟแวร์จัดการฐานข้อมูล (database managemaent software) คอมพิวเตอร์สามารถใช้จัดเก็บข้อมูลและจัดการกับข้อมูลที่จัดเก็บไว้ใน เครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งการเก็บรวบรวมข้อมูลที่สัมพันธ์กันไว้ในคอมพิวเตอร์ เรียกว่า ฐานข้อมูล (database) ซอฟแวร์จัดการฐานข้อมูลเป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่สร้างฐานข้อมูลและจัดการกับ ข้อมูลให้เป็นระบบ เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการเรียกค้นข้อมูล การปรับปรุงข้อมูล การเพิ่มข้อมูลและการลบข้อมูล ซอฟแวร์จัดการฐานข้อมูลที่นิยมใช้เช่น Dbase , Paradox , Foxbase , Microsoft Access เป็นต้น 





โปรแกรมที่จัดการฐานข้อมูลในรูปแบบของตารางที่มีความสัมพันธ์กันแต่ละตาราง จะประกอบด้วยแถวที่เรียกว่า เรคคอร์ด (recode) และคอลัมน์ที่เรียกว่าฟิลด์ (field) แต่ละเรคคอร์ดประกอบด้วยฟิลด์ของข้อมูลที่ต้องการเก็บ เช่น ฐานข้อมูลของโรงเรียน




http://thn21508-06.blogspot.com/2012/01/1.html


6. ซอฟต์ประยุกต์เฉพาะงาน 

ซอฟแวร์ประยุกต์เฉพาะงาน (application software for specific surpose) เป็นซอฟแวร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับงานขององค์กรใดองค์กรหนึ่ง โดยเฉพาะ ออกแบบและสร้างขึ้นโดยผู้ผลิตซอฟแวร์ที่มีความชำนาญในด้านนั้นๆ หรือพัฒนาโดยฝ่ายบุคากรฝ่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กรก็ได้ โดยผ่านการวิเคราะห์ ออกแบบ ลงมือ สร้าง และทดสอบโปรแกรมให้สามารถทำงานได้ถูกต้องก่อนจึงจะสามารถนำมาใช้งานได้ เช่น โปรแกรมคำนวณภาษีของประชาชน เป็นต้น



 

http://thn21508-06.blogspot.com/2012/01/blog-post.html

วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557

 อินเทอร์เน็ตและการใช้งาน

1. ความหมายและการพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต

                                                                                                                                                                                                                                                      อินเทอร์เน็ต (Inte     rnet)  เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีขนาดใหญ่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง
ทั่วโลก สามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้ โดยใช้มาตรฐานในการรับส่งข้อมูลที่เป็นหนึ่งเดียว หรือที่เรียกว่า
โปรโตคอล (Protocol) ซึ่งโปรโตคอล ที่ใช้บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีชื่อว่า ทีซีพี/ไอพี )

     พัฒนาการของอินเทอร์เน็ต

        ปี พ.ศ. 2500 (1957) โซเวียดได้ปล่อยดาวเทียม Sputnik ทำให้สหรัฐอเมริกาได้ตระหนักถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ดังนั้น ค.ศ. 2512 (1969) กองทัพสหรัฐต้องเผชิญหน้ากับความเสี่ยงทางการทหาร และความเป็นไปได้ในการถูกโจมตี ด้วยอาวุธปรมาณู หรือนิวเคลียร์ การถูกทำลายล้าง ศูนย์คอมพิวเตอร์ และระบบการสื่อสารข้อมูล อาจทำให้เกิดปัญหาทางการรบ และในยุคนี้ ระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีหลากหลายมากมายหลายแบบ ทำให้ไม่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร และโปรแกรมกันได้ จึงมีแนวความคิด ในการวิจัยระบบที่สามารถ
เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์ และแลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างระบบที่แตกต่างกันได้ ตลอดจนสามารถรับส่งข้อมูลระหว่างกัน ได้อย่างไม่ผิดพลาด แม้ว่าคอมพิวเตอร์บางเครื่อง หรือสายรับส่งสัญญาณ เสียหายหรือถูกทำลาย กระทรวงกลาโหมอเมริกัน (DoD = Department of Defense) ได้ให้ทุนที่มีชื่อว่า DARPA (Defense Advanced Research Project Agency) ภายใต้การควบคุมของ Dr. J.C.R. Licklider ได้ทำการทดลอง ระบบเครือข่ายที่มีชื่อว่า DARPA Network และต่อมาได้กลายสภาพเป็น ARPANet (Advanced Research Projects Agency Network) และต่อมาได้พัฒนาเป็น INTERNET ในที่สุด

 1อินเทอร์เน็ตในต่างประเทศ

- อินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นโครงการของ ARPAnet (Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สังกัด กระทรวงกลาโหม ของสหรัฐ (U.S.Department of Defense – DoD)
ค.ศ.1960 (พ.ศ.2503) ARPA ได้ถูกก่อตั้งและได้ถูกพัฒนาเรื่อยมา
ค.ศ.1969 (พ.ศ.2512) ARPA ได้รับทุนสนันสนุน จากหลายฝ่าย ซึ่งหนึ่งในผู้สนับสนุนก็คือ Edward Kenedy และเปลี่ยนชื่อจาก ARPA เป็น DARPA(Defense Advanced Research Projects Agency) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบายบางอย่าง และในปีค.ศ.1969(พ.ศ.2512)นี้เองที่ได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละชนิด จาก 4 แห่งเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย และมหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีค.ศ.1975(พ.ศ.2518) จึงได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง ซึ่ง DARPA ได้โอนหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง ให้แก่ หน่วยการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ (Defense Communications Agency – ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบัน Internet มีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก, IAB (Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ในInternet, IETF (Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับ Internet ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัคร ทั้งสิ้น
ค.ศ.1983 (พ.ศ.2526) DARPA ตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal) มาใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ ทำให้เป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่าย Internet จนกระทั่งปัจจุบัน จึงสังเกตุได้ว่า ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่จะต่อ internet ได้จะต้องเพิ่ม TCP/IP ลงไปเสมอ เพราะ TCP/IP คือข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทั่วโลก ทุก platform คุยกันรู้เรื่อง และสื่อสารกันได้อย่างถูกต้อง
- การกำหนดชื่อโดเมน (Domain Name System) มีขึ้นเมื่อ ค.ศ.1986 (พ.ศ.2529) เพื่อสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distribution database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บ http://www.yonok.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ หรือไม่ ที่http://www.thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของเว็บที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมด เป็นต้น
- DARPA ได้ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลระบบ internet เรื่อยมาจนถึง 
ค.ศ.1980 (พ.ศ.2533)และให้ มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation – NSF) เข้ามาดูแลแทนร่วม กับอีกหลาน่วย                                                                                              
อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย

- พ.ศ. 2530 ประเทศไทยได้มีการเชื่อมโยงเครือข่ายเตอร์เน็ตครั้งแรก โดยมีจุดประสงค์เพื่อเชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) เชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์นในออสเตรเลีย แต่ไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร เนื่องจากการส่งข้อมูลล่าช้า
- พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (Nectect) ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมมือกันเช่าสายโทรศัพท์เพื่อต่อพ่วงคอมพิวเตอร์แต่ละสถาบันเข้าด้วยกัน โดยเรียกเครือข่ายสมัยนั้นว่า                                                                                                                     “เครือข่ายไทยสาร
- พ.ศ. 2537 เครือข่ายไทยสารเติบโตขึ้นเรื่อยๆ และมีหน่วยงานต่างๆของราชการเข้ามาเชื่อมต่อในเครือข่ายมากขึ้นเรื่อยๆ และต่อมาทางหน่วยงานเอกชนมีความต้องการใช้บริการมากขึ้น การสื่อสารแห่งประเทศไทย จึงได้ร่วมมือกับบริษัทเอกชนเปิดให้บริการอินเตอร์เน็ตแก่บิษัทต่างๆ หรือบุคคลทั่วไปที่สนใจ โดยเรียกบริษัทเอกชนที่ให้บริการทางอินเตอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ว่า ISP (Internet Service Provider)                           
ใความเป็นจริง ไม่มีใครเป็นเจ้าของ internet และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ต่าง ๆ ผู้ติดสินว่าสิ่งไหนดี มาตรฐานไหนจะได้รับการยอมรับ คือ ผู้ใช้ ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ที่ได้ทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้น และจะใช้ต่อไปหรือไม่เท่านั้น ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain name ก็จะต้องยึดตามนั้นต่อไป เพราะ Internet เป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงระบบพื้นฐาน จึงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก
                                2.การทำงานของอินเทอร์เน็ต                                                                  
การสื่อสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์จะมีโปรโตคอล (Protocol) ซึ่งเป็นระเบียบวิธีการสื่อสารที่เป็นมาตรฐานของการเชื่อมต่อกำหนดไว้ โปรโตคอลที่เป็นมาตรฐานสำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต คือ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol)
เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะต้องมีหมายเลขประจำเครื่อง ที่เรียกว่า IP Address เพื่อเอาไว้อ้างอิงหรือติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย ซึ่ง IP ในที่นี้ก็คือ Internet Protocol ตัวเดียวกับใน TCP/IP นั่นเอง IP address ถูกจัดเป็นตัวเลขชุดหนึ่งขนาด 32 บิต ใน 1 ชุดนี้จะมีตัวเลขถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 8 บิตเท่าๆ กัน เวลาเขียนก็แปลงให้เป็นเลขฐานสิบก่อนเพื่อความง่ายแล้วเขียนโดยคั่นแต่ละส่วนด้วยจุด (.) ดังนั้นในตัวเลขแต่ละส่วนนี้จึงมีค่าได้ไม่เกิน 256 คือ ตั้งแต่ 0 จนถึง 255 เท่านั้น เช่น IP address ของเครื่องคอมพิวเตอร์ของสถาบันราชภัฎสวนดุสิต คือ 203.183.233.6 ซึ่ง IP Address ชุดนี้จะใช้เป็นที่อยู่เพื่อติดต่อกับเครื่องพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย
3.การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
สปริง เน้นตลาดแอพฯข้ามแพลตฟอร์ม รองรับการใช้งานทุกระบบปฏิบัติการ หวังเป็นกรุ๊ปแชตที่ดีที่สุด
นายสุชิน รัตนศิริวิไล ประธานบริษัท สปริง เทเลคอม เปิดเผยว่า โทรศัพท์มือถือรุ่น สมายด์ ของสปริง ได้รับการยอมรับทั้งตัวเครื่องและแอพพลิเคชั่นที่ทันสมัย มีผู้ใช้จำนวนมากดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น ไปใช้งานจากหลากหลายอุปกรณ์
ดังนั้น สปริงจะเป็นบริษัทคนไทยที่ผลิตแอพพลิเคชั่นร่วมทำงานกับฮาร์ดแวร์ของทุกค่าย และเชื่อมต่อกับทุกผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือและอินเทอร์เน็ต โดยจะเน้นการเป็นกรุ๊ปแชตที่ดีที่สุด หรือ  A Better Group Messenger ที่ยังไม่เคยมีใครทำมาก่อน
นโยบายของสปริงต่อการพัฒนาแอพ พลิเคชั่นทั้งในปัจจุบันและอนาคต จะต้องเป็นโปรแกรมที่เชื่อมการทำงานทุกแพลตฟอร์ม ทุกคนสามารถคุยกันได้ผ่านเครือข่ายโดยไม่มีขีดจำกัด การหาเพื่อนใหม่จะง่ายดาย เชื่อมต่อกับทุกโซเชียลมีเดีย  โดยคำนึงถึงสิทธิส่วนบุคคล รวมถึงดึงภาคธุรกิจการค้ามาให้สิทธิประโยชน์กับผู้ใช้โปรแกรม โดยเน้นความต้องการของผู้ใช้เป็นหลัก
นายยุคลอาจ ชาญพานิชกิจการ รองประธานฝ่ายวิจัยและพัฒนา บริษัท สปริง เทเลคอม เปิดเผยว่า ในปัจจุบันผู้ใช้แอพพลิเคชั่นสปริง โดยเฉลี่ยจะใช้งานประมาณวันละ
8 ชั่วโมง โดยมีกลุ่มกิจกรรมที่มีการใช้งานในแต่ละวันกว่า 2,000 กลุ่ม ทำให้การทำธุรกรรมผ่านสปริง มีมากกว่า 1 ล้านครั้งต่อวัน หากสปริงเปิดการทำงานในทุกระบบปฏิบัติการ ทั้งแอนดรอยด์  ไอโอเอส  บีบี ไอแพด วินโดว์สโมบาย รวมถึงการทำงานผ่านเว็บในคอมพิวเตอร์ปกติ ที่จะทำให้ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีแต่โทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน ก็จะทำให้การใช้งานของสปริงเพิ่มมากขึ้น
ซอฟต์แวร์รุ่นใหม่ จะเปลี่ยนแปลงหน้าตาการตอบโต้ หรือยูสเซอร์ อินเตอร์เฟซ แบบใหม่ ใช้งานง่ายกว่าเดิม จุดเด่นอยู่ที่กรุ๊ปแชต รองรับสมาชิกภายในกลุ่มและยังเลือกกลุ่มได้หลากหลาย  ไม่     .http://pangyou.wordpress.com/2011/09/16/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87/

2. การทำงานของอินเทอร์เน็ต

การสื่อสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์จะมีโปรโตคอล (Protocol) ซึ่งเป็นระเบียบวิธีการสื่อสารที่เป็นมาตรฐานของการเชื่อมต่อกำหนดไว้ โปรโตคอลที่เป็นมาตรฐานสำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต คือ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol)
เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะต้องมีหมายเลขประจำเครื่อง ที่เรียกว่า IP Address เพื่อเอาไว้อ้างอิงหรือติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย ซึ่ง IP ในที่นี้ก็คือ Internet Protocol ตัวเดียวกับใน TCP/IPนั่นเอง IP address ถูกจัดเป็นตัวเลขชุดหนึ่งขนาด 32 บิต ใน ชุดนี้จะมีตัวเลขถูกแบ่งออกเป็น ส่วน ส่วนละ บิตเท่าๆ กัน เวลาเขียนก็แปลงให้เป็นเลขฐานสิบก่อนเพื่อความง่ายแล้วเขียนโดยคั่นแต่ละส่วนด้วยจุด (.) ดังนั้นในตัวเลขแต่ละส่วนนี้จึงมีค่าได้ไม่เกิน 256 คือ ตั้งแต่ จนถึง 255 เท่านั้น เช่น IP address ของเครื่องคอมพิวเตอร์ของสถาบันราชภัฎสวนดุสิต คือ 203.183.233.6 ซึ่ง IP Address ชุดนี้จะใช้เป็นที่อยู่เพื่อติดต่อกับเครื่องพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย
โดเมนเนม (Domain name system :DNS)
เนื่องจากการติดต่อสื่อสารกันกันในระบบอินเทอร์เน็ตใช้โปรโตคอล TCP/IP เพื่อสื่อสารกัน โดยจะต้องมี IP address ในการอ้างอิงเสมอ แต่ IP address นี้ถึงแม้จะจัดแบ่งเป็นส่วนๆ แล้วก็ยังมีอุปสรรคในการที่ต้องจดจำ ถ้าเครื่องที่อยู่ในเครือข่ายมีจำนวนมากขึ้น การจดจำหมายเลข IP ดูจะเป็นเรื่องยาก และอาจสับสนจำผิดได้ แนวทางแก้ปัญหาคือการตั้งชื่อหรือตัวอักษรขึ้นมาแทนที่ IP address ซึ่งสะดวกในการจดจำมากกว่า เช่น IP address คือ 203.183.233.6 แทนที่ด้วยชื่อ dusit.ac.th ผู้ใช้งานสามารถ จดจำชื่อ dusit.ac.th ได้ง่ายกว่า การจำตัวเลข
โดเมนที่ได้รับความนิยมกันทั่วโลก ที่ถือว่าเป็นโดเมนสากล มีดังนี้ คือ
.com ย่อมาจาก commercial สำหรับธุรกิจ
.edu ย่อมาจาก education สำหรับการศึกษา
.int ย่อมาจาก International Organization สำหรับองค์กรนานาชาติ
.org ย่อมาจาก Organization สำหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร
.org ย่อมาจาก Organization สำหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร
การขอจดทะเบียนโดเมน
การขอจดทะเบียนโดเมนต้องเข้าไปจะทะเบียนกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ ชื่อโดเมนที่ขอจดนั้นไม่สามารถซ้ำกับชื่อที่มีอยู่เดิม เราสามารถตรวจสอบได้ว่ามีชื่อโดเมนนั้นๆ หรือยังได้จากหน่วยงานที่เราจะเข้าไปจดทะเบียน
การขอจดทะเบียนโดเมน มี วิธี ด้วยกัน คือ
1. การขอจดะเบียนให้เป็นโดเมนสากล (.com .edu .int .org .net ) ต้องขอจดทะเบียนกับ www.networksolution.com ซึ่งเดิม คือ www.internic.net
2. การขอทดทะเบียนที่ลงท้ายด้วย .th (Thailand)ต้องจดทะเบียนกับ www.thnic.net
โดเมนเนมที่ลงท้าย ด้วย .th ประกอบด้วย
ac.th ย่อมาจาก Academic Thailand สำหรับสถานศึกษาในประเทศไทย
.co.th ย่อมาจาก Company Thailand สำหรับบริษัทที่ทำธุรกิจในประเทศไทย
.go.th ย่อมาจาก Government Thailand สำหรับหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาล
.net.th ย่อมาจาก Network Thailand สำหรับบริษัทที่ทำธุรกิจด้านเครือข่าย
.or.th ย่อมาจาก Organization Thailand สำหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร
.in.th ย่อมาจาก Individual Thailand สำหรับของบุคคลทั่วๆ ไป
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบใช้สาย (Wire Internet)
1. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตรายบุคคล (Individual Connection)
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตรายบุคคล คือ การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจากที่บ้าน (Home user) ซึ่งยังต้องอาศัยคู่สายโทรศัพท์ในการเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตก่อน จากนั้นจะได้เบอร์โทรศัพท์ของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต รหัสผู้ใช้ (User name) และรหัสผ่าน (Password) ผู้ใช้จะเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตได้โดยใช้โมเด็มที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้หมุนไปยังหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต จากนั้นจึงสามารถใช้ งานอินเทอร์เน็ตได้ ดังรูป


องค์ประกอบของการใช้อินเทอร์เน็ตรายบุคคล
1. โทรศัพท์
2. เครื่องคอมพิวเตอร์
3. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะให้เบอร์โทรศัพท์ รหัสผู้ใช้และรหัสผ่าน
4. โมเด็ม (Modem)
โมเด็ม คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการแปลงสัญญาณ เนื่องจากสัญญาณในคอมพิวเตอร์เป็นสัญญาณดิจิทัล (Digital) แต่สัญญาณเสียงในระบบโทรศัพท์เป็นสัญญาณอนาล็อก (Analog) ดังนั้นเมื่อต้องการเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตจึงต้องใช้โมเด็มเพื่อเป็นอุปกรณ์ในการแปลงสัญญาณดิจิทัลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณอนาล็อกตามสายโทรศัพท์ และแปลงกลับจากสัญญาณอนาล็อกเป็นสัญญาณดิจิทัล เมื่อถึงปลายทาง
ความเร็วของโมเด็มมีหน่วยเป็น บิตต่อวินาที (bit per second : bps) หมายความว่า ในหนึ่งวินาที จะมีข้อมูลถูกส่งออกไป หรือรับเข้ามากี่บิต เช่น โมเด็มที่มีความเร็ว 56 Kpbs จะสามารถ รับ-ส่งข้อมูลได้ 56 กิโลบิตในหนึ่งวินาที
โมเด็มสามารถแบ่งได้ ประเภท คือ
1. โมเด็มแบบติดตั้งภายนอก (External modem)
เป็นโมเด็มที่ติดตั้งกับคอมพิวเตอร์ภายนอก สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก เพราะในปัจจุบันการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์จะผ่าน USB พอร์ต (Universal Serial Bus) ซึ่งเป็นพอร์ตที่นิยมใช้กันมาก ราคาของโมเด็มภายนอกไม่สูงมากนัก แต่จะยังมีราคาสูงกว่าโมเด็มแบบติดตั้งภายใน รูปที่ 6.3 แสดงโมเด็มภายนอก


2. โมเด็มแบบติดตั้งภายใน (Internal modem)
เป็นโมเด็มที่เป็นการ์ดคอมพิวเตอร์ที่ต้องติดตั้งเข้าไปกับแผงวงจรหลักหรือเมนบอร์ด (main board) ของเครื่องคอมพิวเตอร์ โมเด็มประเภทนี้จะมีราคาถูกว่าโมเด็มแบบติดตั้งภายนอก เวลาติดตั้งต้องอาศัยความชำนาญในการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ และติดตั้งไปกับแผงวงจรหลัก

3. โมเด็มสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก (Note Book Computer) อาจเรียกสั้นๆว่า PCMCIA modem



2. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบองค์กร (Corporate Connection)
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบองค์กรนี้จะพบได้ทั่วไปตามหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน หน่วยงานต่างๆ เหล่านี้จะมีเครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network : LAN) เป็นของตัวเอง ซึ่งเครือข่าย LAN นี้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตตลอดเวลา ผ่านสายเช่า (Leased line) ดังนั้น บุคลากรในหน่วยงานจึงสามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา การใช้อินเทอร์เน็ตผ่านระบบ LAN ไม่มีการสร้างการเชื่อมต่อ (Connection) เหมือนผู้ใช้รายบุคคลที่ยังต้องอาศัยคู่สายโทรศัพท์ในการเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต


การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย (Wireless Internet)
1. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สายผ่านเครื่องโทรศัพท์บ้านเคลื่อนที่ PCT
เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก (Note book) และคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Pocket PC) ผู้ใช้จะต้องมี โมเด็ม ชนิด PCMCIA ของ PCT ซึ่งทำให้ผู้ใช้สามารถใช้อินเทอร์เน็ตไร้ได้ ในเขตกรุงเทพ และปริมณฑลได้
2. การใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือโดยตรง (Mobile Internet)
1. WAP (Wireless Application Protocol) เป็นโปรโตคอลมาตรฐานของอุปกรณ์ไร้สายที่ใช้งานบนอินเทอร์เน็ต ใช้ภาษา WML (Wireless Markup Language) ในการพัฒนาขึ้นมา แทนการใช้ภาษา HTML (Hypertext markup Language) ที่พบใน wwwโทรศัพท์มือถือปัจจุบัน หลายๆยี่ห้อ จะสนับสนุนการใช้ WAP เพื่อท่องอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 9.6 kbps และการใช้ WAP ท่องอินเทอร์เน็ตนั้น จะมีการคิดอัตราค่าบริการเป็นนาทีซึ่งยังมีราคาแพง
2. GPRS (General Packet Radio Service) เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้โทรศัพท์มือถือสามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วสูง และสามารถส่งข้อมูลได้ในรูปแบบของมัลติมีเดีย ซึ่งประกอบด้วย ข้อความ ภาพกราฟิก เสียง และวีดิโอ ความเร็วในการรับส่งข้อมูลด้วยโทรศัพท์ที่สนับสนุน GPRS อยู่ที่ 40 kbps ซึ่งใกล้เคียงกับโมเด็มมาตรฐานซึ่งมีความเร็ว 56 kbps อัตราค่าใช้บริการคิดตามปริมาณข้อมูลที่รับ-ส่ง ตามจริง ดังนั้นจึงทำให้ประหยัดกว่าการใช้ WAP และยังสื่อสารได้รวดเร็วขึ้นด้วย
3. โทรศัพท์ระบบ CDMA (Code Division Multiple Access) ระบบ CDMA นั้น สามารถรองรับการสื่อสารไร้สายความเร็วสูงได้เป็นอย่างดี โดยสามารถทำการรับส่งข้อมูลได้สูงสุด 153 Kbps ซึ่งมากกว่าโมเด็มที่ใช้กับโทรศัพท์ตามบ้านที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้เพียง 56 kbps นอกจากนี้ ระบบ CDMA ยังสนับสนุนการส่งข้อมูลระบบมัลติมีเดียได้ด้วย
4. เทคโนโลยี บลูทูธ (Bluetooth Technology) เทคโนโลยีบลูทูธ ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับการสื่อสารแบบไร้สาย โดยใช้หลักการการส่งคลื่นวิทยุ ที่อยู่ในย่านความถี่ระหว่าง 2.4 - 2.4 GHz ในปัจจุบันนี้ได้มีการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ใช้เทคโนโลยีไร้สายบลูธูทเพื่อใช้ใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายๆชนิด เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค คอมพิวเตอร์พ็อคเก็ตพีซี
3. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยโน้ตบุ๊ก(Note book) และ เครื่องปาล์ม (Palm) ผ่าน โทรศัพท์มือถือที่สนับสนุนระบบ GPRS
โทรศัพท์มือถือที่สนับสนุน GPRS จะทำหน้าที่เสมือนเป็นโมเด็มให้กับอุปกรณ์ที่นำมาพ่วงต่อ ไม่ว่าจะเป็น Note Book หรือ Palm และในปัจจุบันบริษัทที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้มีการผลิต SIM card ที่เป็น Internet SIM สำหรับโทรศัพท์มือถือเพื่อให้สามารถติดต่อกับอินเทอร์เน็ตได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น                             http://vclass.mgt.psu.ac.th/~465-302/2006-2/Assignment-02/BPA_29_08_2/page_4.htm

 3. การเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต

 การเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต
    การเชื่อมเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตที่นิยมใช้สำหรับผู้ใช้งานทั่วไปหรือหน่วยงานขนาดเล็กจะใช้การเชื่อมต่อแบบหมุนโทรศัพท์ (Dial-Up  Connection)  ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อแบบชั่วคราวหรือเฉพาะบางเวลา ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งสิ่งที่จำเป็นในการเชื่อมต่อ มีดังนี้
    1 เครื่องคอมพิวเตอร์  เป็นอุปกรณ์สำหรับใช้ในการส่งและรับข้อมูล
    2 เว็บบราวเซอร์  เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการดึงข้อมูลมาจาเว็บเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งจัดเก็บอยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า HTML (Hyper Text Markup Language)  และแปลความหมายของรูปแบบข้อมูลที่ได้กำหนดเอาไว้เพื่อนำเสนอแก่ผู้ใช้
    3 หมายเลขโทรศัพท์และสายโทรศัพท์  สำหรับเป็นสื่อกลางในการส่งข้อมูลข่าวสาร โดยผู้ใช้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการโทรศัพท์เพียง 3 บาทต่อครั้งของการเชื่อมต่อ
    4 โมเด็ม  เป็นอุปกรณ์สำหรับแปลงสัญญาณข้อมูลของคอมพิวเตอร์ซึ่งอยู่ในรูปแบบดิจิทัล (Digital) ให้เป็นสัญญาณข้อมูลรูปแบบแอนะล็อก (analog) และเมื่อเป็นผู้ส่งจะแปลงสัญญาณข้อมูลรูปแบบแอนะล็อกให้เป็นดิจิทัล
    5 บริการชุดอินเทอร์เน็ตจากผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP)  ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ใช้บริการสามารถเลือกขอเป็นสมาชิกเป็นรายเดือน รายปี หรืออาจเป็นการซื้อชุดอินเทอร์เน็ตแบบสำเร็จรูป โดยคิดค่าใช้บริการเป็นหน่วยชั่วโมง บริษัทที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย เช่น ทีโอที กสท  โทรคมนาคม ทีทีแอนด์ที ล็อกอินโฟ  3BB เป็นต้น
http://krutuk.kkw2.ac.th/2012/?page_id=16

4. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์

ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Mail or E-mail)
    











      ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือเรียกย่อๆ ว่า E - Mail เป็นวิธีการติดต่อสื่อสารกันบน Internet ที่เป็นมาตรฐาน และเก่าแก่ที่สุด โดยที่สามารถจะส่งเอกสารที่เป็นข้อความธรรมดา จนถึงการส่งเอกสาร แบบมัลติมิเดีย มีทั้งภาพและเสียง ไปรอบโลก ในการให้บริการแบบนี้ ผู้ที่ต้องการส่ง และรับจดหมาย อีเล็กทรอนิกส์ จะต้องมีบัญชีการใช้บริการที่แน่นอน ซึ่งเรียกว่า E-Mail Address คล้ายๆ กับชื่อ-นามสกุล และที่อยู่นั่นเอง
สามารถแบ่งการใช้อีเมล์ตามลักษณะของการให้บริการได้กว้างๆ 3 ลักษณะคือ
     •  อีเมล์สำนักงาน – เป็นบัญชีการใช้บริการรับ/ส่งอีเมล์ที่หน่วยงาน หรือสำนักงานของผู้ใช้เป็นผู้จัดทำและให้บริการ มีจุดเด่นคือ บ่งชี้ถึงหน่วยงานสังกัดของผู้ใช้ เช่น อีเมล์ของบุคลากรในเนคเทค จะอยู่ในรูปของ ชื่อบุคคล @nectec.or.th ทำให้ทราบได้ทันทีว่าบุคคลนั้นๆ อยู่ในหน่วยงานใด
    •  อีเมล์โดย ISP – ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหลายท่าน คงไม่มีอีเมล์ที่จัดให้บริการโดยสำนักงาน เนื่องจากความไม่พร้อมของสำนักงานหรือหน่วยงานที่ต้นสังกัด ทางเลือกที่น่าสนใจก็คือ เมื่อผู้ใช้สมัครเป็นสมาชิกอินเทอร์เน็ตจาก ISP ส่วนมาก ISP ก็จะให้บริการอีเมล์ด้วยเสมอ ดังนั้นผู้ใช้จึงสามารถมีอีเมล์ที่ให้บริการโดย ISP เพื่อใช้งานได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามอีเมล์แบบนี้ มักจะมีจุดอ่อน คือ
  • ไม่บ่งชี้สถานภาพของบุคคล หรือหน่วยงาน
  • อายุการใช้บริการไม่ยาวนาน โดยผู้ใช้อินเทอร์เน็ต มักจะซื้อบริการที่ถูกที่สุด ดังนั้นเมื่อหมดอายุกับ ISP รายหนึ่ง ก็อาจจะเปลี่ยนเป็นอีกราย (ที่ราคาถูกกว่า) ทำให้อีเมล์เดิมถูกยกเลิกไปทันที ซึ่งเป็นภาระในการติดต่อสื่อสารได้
     อีเมล์ที่ให้บริการฟรีทั่วไป – หน่วยงานหรือเว็บไซต์หลายเว็บไซต์ ให้บริการบัญชีอีเมล์ฟรีสำหรับผู้สนใจทั่วไป ดังนั้นผู้ใช้อินเทอร์เน็ตส่วนมาก จึงเลือกใช้อีเมล์ลักษณะนี้ เนื่องจากสมัครได้ง่าย ฟรี และใช้งานได้ทุกที่ ทุกเวลา
รูปแบบของ e-Mail Address
     บัญชีชื่อ @ โดเมนเนมของหน่วยงานหรือผู้ให้บริการ
เช่น นายสมชาย เป็นพนักงานของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ดังนั้น e-Mail Address ที่สามารถเป็นไปได้ของนายสมชาย คือ somchai@nectec.or.th ( ข้อมูลสมมติ)
นายวินัย เป็นพนักงานของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดังนั้น e-Mail Address ที่สามารถเป็นไปได้ของนายวินัย คือ vinai@ku.ac.th
การแจ้งอีเมล์ให้กับผู้อื่น มีข้อควรระวังดังนี้
  • ระบุตัวอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ ตัวพิมพ์เล็กให้ชัดเจน เพราะระบบอินเทอร์เน็ต มักจะถือว่าตัวอักษรตัวใหญ่และตัวเล็ก เป็นคนละตัวกัน เช่น Vinai ไม่เหมือนกับ vinai เป็นต้น
  • จะต้องระบุให้ครบทั้งชื่อบัญชี เครื่องหมาย @และโดเมนเนม
  • http://www.med.cmu.ac.th/eiu/informatics/Literacy/computer/internet/16.htm

5. โอนย้ายแฟ้มข้อมูล

การโอนย้ายแฟ้มข้อมูล

             การโอนย้ายแฟ้มข้อมูลเป็นการเปลี่ยนไฟล์ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการในการโอนย้ายแฟ้มข้อมูลเรียกว่า FTP  Server  กับเครื่องไคลเอนต์ที่ใช้บริการที่เรียกว่า  FTP  Client  แบ่งเป็น  2  ลักษณะ คือ การดาวน์โหลด และ การอัปโหลด
     
              1.    การดาวน์โหลด ( Download ) คือ การโอนย้ายแฟ้มข้อมูลจากเครื่องเซิร์ฟเวอร์ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาบันทึกไว้ในคอมพิวเตอร์
  
               2.  การอัปโหลด ( Upload ) คือ การโอนย้ายแฟ้มข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ไปบันทึกไว้ที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการผ่านโปรแกรมสำหรับอัปโหลด                     http://orathaiandjittraporn.blogspot.com/

6. การใช้อินเทอร์เน็ตในการแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น

  การแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น (internet forum) เป็นบริการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าว  การอภิปรายและแสดงความคิดเห็นร่วมกันของผู้คนในสังคมผ่านอิเทอร์เน็ต  ซึ่งแนวโน้มล่าสุดของการใช้อินเทอร์เน็ต  คือ  ใช้เป็นแหล่งพบปะสังสรรค์เพื่อสร้างเครือข่ายทางสังคม  (socialnetwork)  เทคโนโลยีการแลกเปลี่ยนข่าวสารมีหลากหลายรูปแบบ  เช่น  ยูสเน็ต  (usenet)  บล็อก  (blog)  เป็นต้น
    บล็อก (blog) ย่อมาจากคำว่า  เว็บบล็อก (webblog) เป็นเว็บไซต์ที่ใช้เขียนบันทึกเรื่องราว  โดยเรียงลำดับตามเวลา  เพื่อสื่อสารความรู้สึก  มุมมอง  ประสบการณ์  ความรู้  และข่าวสารโดยจะแสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้ส่วนบนสุดของเว็บไซต์หรือบางครั้งอาจเรียกว่า  ไดอารีออนไลน์ (diary online) ข้อมูลหรือความเห็นที่ถูกนำเสนอในบล็อก  อาจจัดทำโดยบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่เป็นเจ้าของบล็อก  หรือบุคคลที่มีความสนใจร่วมกัน  หรือมีความเชี่ยวชาญเฉพาะเหมือนกัน  จนเกิดชุมชนในบล็อกขึ้น  ซึ่งผู้ใช้คนอื่นๆ สามารถเข้ามาแสดงความคิดเห็นร่วมกันได้  และสามารถอ่านเรื่องราวที่เกิดขึ้นตามลำดับเวลาได้  โดยข้อมูลหรือความคิดเห็นสามารถนำเสนอในรูปของข้อความ ภาพหรือมัลติมีเดีย  ทั้งนี้ผู้เขียน (blogger) ต้องพึงระวังการเขียนข้อความในลักษณะหมิ่นประมาทยั่วยุให้ผู้อื่นกระทำผิดกฎหมาย  ซึ่งอาจมีความผิดตาม พ.ร.บ  ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ได้ปัจจุบันบล็อกที่นิยมใช้ในประเทศไทยมีหลายเว็บ  เช่น  Hi5, Facebook, Wikipedia, Youtube  เป็นต้น   http://pog5904.blogspot.com/2013/01/internet-forum-socialnetwork-usenet.html

7. การสนทนาผ่านอินเทอร์เน็ต

การสนทนาออนไลน์
การสนทนาออนไลน์ หรือ Internet Relay Chat (IRC) หมายถึง โปรแกรมที่ถูกสร้างมาเพื่อการสนทนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยการพิมพ์ข้อความผ่านคีย์บอร์ดขึ้นสู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ซึ่งจะมีชื่อของผู้เล่นและข้อความแสดงขึ้นในหน้าต่างภายในจอคอมพิวเตอร์ของโปรแกรมสนทนา ให้คนอื่น ๆ ที่ร่วมสนทนาในห้องสนทนา (chat room) นั้น ๆ ได้เห็นว่า ผู้เล่นสนทนาคนอื่น ๆ สามารถเข้าสนทนาได้
บริการสนทนาออนไลน์บนอินเทอร์เน็ต เป็นการสื่อสารผ่านข้อความ เสียง และรูปภาพจาก Webcam โดยมีการโต้ตอบกันอย่างทันทีทันใด (real-time) มีลักษณะเดียวกันกับการสนทนาโดยโทรศัพท์ ต่างกันตรงที่ผู้สนทนาจะสื่อสารผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ ในขณะเดียวกันก็สามารถส่งข้อความ ภาพ และเสียงให้กันโดยมีอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อกลางในการส่งข้อมูล 
การสนทนาออนไลน์มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลว่าจะใช้งาน ข้อดีที่คือการได้รู้จักผู้คนมากขึ้น ได้แนวความคิดหลากหลาย มองโลกได้กว้างขึ้นโดยที่เป็นการลดช่องว่างด้านเวลา และสถานที่ ทำให้ได้รับรู้ประสบการณ์ของผู้อื่นพร้อมกับเผยแพร่ประสบการณ์ของตัวเองที่เป็นประโยชน์ เผยแพร่และแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูล ข่าวสารต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ ส่วนข้อเสียเป็นอาการติดสนทนาออนไลน์ไม่สนใจกิจกรรมอื่นนอกจากสนทนาออนไลน์ 
รูปแบบการสนทนาออนไลน์ ในปัจจุบันมีคุณสมบัติพิเศษเพิ่มสีสันการสนทนามากมาย ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดความแตกต่าง ความน่าสนใจ ทำให้เข้ามาสนทนาพูดคุย สามารถแบ่งรูปแบบการสนทนาออนไลน์อย่างกว้าง ๆ ได้เป็น รูปแบบด้วยกัน คือ Web Chat, Web Board และโปรแกรมสนทนาออนไลน์ Web Chat เป็นการสนทนาโดยผ่านเซิร์ฟเวอร์กลาง ซึ่งจะทำให้เกิดกลุ่มสนทนาแล้วทุกคนที่ติดต่อกับเซิร์ฟเวอร์นั้นสามารถได้รับข้อความนั้นได้พร้อม ๆ กัน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าห้องสนทนา (chat room) เป็นการเข้าไปคุยกันในเว็บที่จัดให้บริการ เป็นการคุยตอบโต้ระหว่างกันผ่านเซิร์ฟเวอร์ โดยใช้บราวเซอร์ปกติ รูปแบบ และบรรยากาศของห้องคุยก็จะขึ้นอยู่กับผู้สร้างสรรค์เว็บบริการนั้น ๆ ว่าให้ความน่าสนใจมากน้อยเพียงใด ซึ่งแต่ละห้องจะมีคนพูดคุยพร้อม ๆ กันหลายคน

รูปแบบการสนทนาออนไลน์ (Chat)
การสนทนาออนไลน์ผ่านเซิร์ฟเวอร์กลาง
เป็นลักษณะการสนทนาแบบเป็นกลุ่ม โดยผู้สนทนาจะพิมพ์ข้อความที่ต้องการสื่อสารผ่านไปยังเซิร์ฟเวอร์ และเซิร์ฟเวอร์จะส่งข้อความเหล่านั้นออกมาแสดงบนหน้าจอของทุกคนที่กำลังติดต่อกับกับเซิร์ฟเวอร์อยู่ซึ่งเราเรียกว่า ห้องสนทนา (Chat Room)
วิธีการสนทนาออนไลน์ผ่านทางเซิร์ฟเวอร์กลาง จะมีเทคนิคเพื่อให้เลือกใช้บริการดังนี้
1. การสนทนาออนไลน์ผ่านโปรแกรม คือ ลักษณะการสนทนาด้วยข้อความในห้องสนทนาโดยใช้โปรแกรมของแต่ละเครื่องของผู้ใช้ มีเซิร์ฟเวอร์มากมาย เช่น PIRCH,mIRC และ Comic Chat
2. การสนทนาออนไลน์ผ่านเว็บ (Web Chat) คือ รูปแบบของการนำวิธีการทำงานบนเว็บเซิร์ฟเวอร์มาทำให้เกิดห้องสนทนา บนเว็บเพจของผู้ที่เข้าไปใช้บริการ โดยไม่ต้องมีโปรแกรมรันอยู่บนเครื่องของผู้สนทนา ปัจจุบันการสนทนาออนไลน์ผ่านเว็บได้นำเทคโนโลยี จาวา (Java) มาใช้เขียนโปรแกรม

ขั้นตอนการสนทนาแบบ Chat Room
1.พิมพ์ URL ที่ช่อง Address: htt://www.sanook.com
2.คลิกเลือกที่ คุยสด จะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ
Java Chat ซึ่งจะต้องติดตั้งโปรแกรม Java Applet ก่อน จึงจะสามารถสนทนารูปแบบนี้ได้Classic Chat เป็นรูปแบบดั้งเดิของการสนทนาออนไลน์โดยผ่ามเซิร์ฟเวอร์ สามารถใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมใดๆเพิ่มเติม
3.เมื่อเลือก Ciassic Chat จะมีรายชื่อของห้องสนทนาต่างๆภายในเซิร์ฟเวอร์แสดงออกมาให้ผู้ใช้ได้เลือกตามควมสนใจ เพื่อจะได้เข้าไปคุยกับเพื่อนๆภายในห้องสนทนาที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน
4.เมื่อเลือกห้องที่ต้องการสนทนาได้แล้ว จะปรากฎเว็บเพจในการแนะนำวิธีการ Log on เพื่อขอใช้บริการ พร้องทั้ให้พิมพ์ชื่อ และสีของข้อควมที่ต้องการใช้ระหว่างการสนทนจา เมื่อกำหนดเรียบร้อยแล้วให้คลิกที่ "เข้าห้อง"
5.เมื่อเข้าไปภายในห้องสนทนาแล้ว จะปรากฎชื่อของสมาชิกทั้งหมดภายในห้องสนทนานี้ และการสนทนาสามารถเลือกได้ว่าจะส่งข้อความถึงใคร หรือส่งถึงทุกคนภายในห้องก็ได้ แต่ขอความที่แสดงบนหน้าจอ ทุกคนที่อยู่ภายในห้องสนทนานั้นจะเห็นด้วยกันทั้งหมด
6.เมื่อเลิกผู้สนทนาที่เราต้องการส่งข้อความถึงแล้วนั้น เราก็ทำการพิมพ์ข้อความที่ต้องการจะส่งไป แล้วเลือกคลิกที่ Update ข้อความของเราจะไปปรากฎบนหฟน้าจดของทุกคนที่ใช้ห้องสนทนานี้
7.เมื่อต้องการออกจากหน้าสนทนา ให้คลิก Logoff
8.เพียงการทำงานตามขั้นตอนนี้ เราก็สามารถไปห้องสนทนายังห้องต่างๆได้โดยไม่ต้องทำการลงทะเบียนสมัครป็นสมาชิของเว็บไซต์ที่ให้บริการเหล่านั้น และเมื่อทำการ Logoff ออกจากห้องสนทนาห้องใดห้องหนึ่งแล้ว ก็สามารถที่จะเปลี่ยนไปสนทนายังห้องอื่นๆต่อไปได้อีก

การสนทนาออนไลน์โดยตรงระหว่างผู้ใช้อินเทอร์เน็ต
การสนทนาออนไลน์รูปแบบนี้จะไม่ต้องผ่านเซิร์ฟเวอร์ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “การรับส่งสารแบบทันทีทันใด หรือ Instant Messaging เช่นโปรแกรม ICQ,MSN Messenger, Yahoo Messenger, Windows Messenger เป็นต้น จะเป็นรูแบบของการสนทนาแบบตัวต่อตัว มิใช่ลักษณะการสนทนาในแบบห้องสนทนา    https://sites.google.com/site/unit4internet53/kar-chi-ngan-xinthexrnet/kar-snthna-xxnlin

8. การสืบค้นข้อมูล

การนำความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต มาประยุกต์ใช้ในการศึกษาหาความรู้ ได้แก่ การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต โดยการใช้งานอินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับการศึกษานี้จะสามารถแบ่งเนื้อหาออกเป็น 3 ระดับดังนี้
    1. การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
    2. การนำข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตมาใช้งาน
    3. การสร้างแหล่งข้อมูลด้วยตนเอง
        การค้นคว้าด้วยการใช้ Search Engine
การใช้งานงานอินเทอร์เน็ตที่นิยมใช้กันอย่างมาก จะได้แก่การเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อหาความรู้ แต่การเข้าเยี่ยมชมนั้น ในกรณีที่เรารู้ว่าเว็บไซต์เหล่านั้นมีชื่อว่าอะไร เนื้อหาของเว็บ มุ่งเน้นเกี่ยวกับสิ่งใด เราสาสามารถที่จะเข้าเยี่ยมชมได้ทันที่ แต่ในกรณีที่เราไม่ทราบชื่อเว็บเหล่านั้น แต่เรามีความต้องการที่จะค้นหาเนื้อหาบางอย่าง มีวิธีการจะเข้าสืบค้นข้อมูลได้ โดยการใช้ความสามารถของ Search Engine
Search Engine จะมีหน้าที่รวบรวมรายชื่อเว็บไซต์ต่างๆ เอาไว้ โดยจัดแยกเป็นหมวดหมู่ ผู้ใช้งานเพียงแต่ทราบหัวข้อที่ต้องการค้นหาแล้วป้อน คำหรือข้อความของหัวข้อนั้นๆ ลงไปในช่องที่กำหนด คลิกปุ่มค้นหา เท่านั้น ข้อมูลอย่างย่อๆ และรายชื่อเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องจะปรากฏให้เราเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ทันที
Search Engine แต่ละแห่งมีวิธีการและการจัดเก็บฐานข้อมูลที่แตกต่างกันไปตามประเภทของ Search Engine ที่แต่ละเว็บไซต์นำมาใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ดังนั้นการที่จะเข้าไปหาข้อโดยวิธีการ Search นั้น อย่างน้อยเราจะต้องทราบว่า เว็บไซต์ที่จะเข้าไปใช้บริการ ใช้วิธีการหรือ ประเภทของ Search Engine อะไร เนื่องจากแต่ละประเภทมีความละเอียดในการจัดเก็บข้อมูลต่างกันไป
    ประเภทของ Search Engine
    1. Keyword Index
    2. Subject Directories
    3. Metasearch Engines
               Keyword Index เป็นการค้นหาข้อมูล โดยการค้นจากข้อความในเว็บเพจที่ได้ผ่านการสำรวจมาแล้ว จะอ่านข้อความ ข้อมูล ประมาณ 200-300 ตัวอักษรแรกของเว็บเพจ วิธีการค้นหาของ Search Engine ประเภทนี้จะให้ความสำคัญกับการเรียงลำดับข้อมูลก่อนหลัง  การค้นหาข้อมูล โดยวิธีการเช่นนี้จะมีความรวดเร็วมาก แต่มีความละเอียดในการจัดแยกหมวดหมู่ของข้อมูลค่อนข้างน้อย เนื่องจากไม่ได้คำนึงถึงรายละเอียดของเนื้อหาเท่าที่ควร แต่ถ้าต้องการแนวทางด้านกว้างของข้อมูล การค้นหาแบบนี้จะเหมาะสมที่สุด เว็บที่ให้บริการ Search Engine แบบ Keyword Index ได้แก่เว็บ
http://www.google.com/                  http://www.altavista.com/
      
Subject Directories การจำแนกหมวดหมู่ข้อมูล Search Engine ประเภทนี้ จะจัดแบ่งโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ของแต่ละเว็บเพจ ว่ามีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร โดยการจัดแบ่งแบบนี้จะใช้คนพิจารณาเว็บเพจ แต่ละเว็บ แล้วทำการจัดหมวดหมู่ โดยจะขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของคนจัดหมวดหมู่แต่ละคนว่าจะจัดเก็บข้อมูลนั้นๆ อยู่ในกลุ่มของอะไร ดังนั้นฐานข้อมูลของ Search Engine ประเภทนี้จะถูกจัดแบ่งตามเนื้อหาก่อน แล้วจึงนำมาเป็นฐานข้อมูลในการค้นหาต่อไป
http://www.thaiwebhunter.com/           http://www.sanook.com
     
Metasearch Engines จะเป็น Search Engine ที่ใช้ในการค้นหาเว็บ ด้วยตัวของ Search Engine แบบ Metasearch Engines เองแล้ว แต่ที่เด่นกว่านั้นคือ Search Engine แบบ Metasearch Engines จะยังสามารถเชื่อมโยงไปยัง Search Engine ประเภทอื่นๆ เพื่อเรียกดูข้อมูลที่ Search Engine อื่นๆ ค้นพบ โดยสังเกตได้จากจะมีคำว่า [Found on Google, Yahoo!] ต่อทางด้านท้าย นั้นก็หมายความว่าการค้นหาข้อความนั้นๆ มาการเชื่อมโดยไปค้นข้อมูลจาก เว็บ Google และ Yahoo
แต่การค้นหาด้วยวิธีนี้มีจุดด้อย คือ วิธีการนี้จะไม่ให้ความสำคัญกับขนาดเล็กใหญ่ของตัวอักษรและมักจะไม่ค้นหาคำประเภท Natural Language (ภาษาพูด) และที่สำคัญ Search Engine แบบ Metasearch Engines ส่วนมากไม่รองรับภาษาไทย
http://www.dogpile.com                 http://www.kartoo.com/
        
              การสืบค้นข้อมูลแบบใช้คีย์เวิร์ด
การสืบค้นแบบใช้คีย์เวิร์ด ใช้ในกรณีที่ต้องการค้นข้อมูลโดยใช้คำที่มีความหมายตรงกับความต้องการ โดยมากจะนิยมใช้คำที่มีความหมายใกล้เคียงกับเนื้อเรื่องที่จะสืบค้นข้อมูล
การสืบค้นข้อมูล การสืบค้นแบบใช้คีย์เวิร์ด มีวิธีการค้นหาได้ดังนี้
    1. เปิดเว็บเพจ ที่ให้บริการในการสืบค้นข้อมูล โดยพิมพ์ช่องเว็บที่ช่อง Address
      www.google.co.th เป็นเว็บที่ใช้สืบค้นข้อมูลของต่างประเทศ ข้อดีคือ ค้นหาง่าย เร็ว
      www.yahoo.com เป็นเว็บที่ใช้สืบค้นที่ดีตัวหนึ่งซึ่งค้นหาข้อมูลง่าย และข้อเด่นคือภายในเว็บของ www.yahoo.com เองจะมีฟรีเว็บไซต์ ที่รู้จักกันในนาม http://www.geocities.com ซึ่งมีจำนวนหลาย100000 เว็บ ให้ค้นหาข้อมูลเองโดยเฉพาะ
      www.sanook.com เป็นเว็บของคนไทย
      www.siamguru.com  เป็นเว็บของคนไทย
ในตัวอย่างจะเปิดเว็บ www.sanook.com
    2. ที่ช่อง ค้นหา พิมพ์ข้อความต้องการจะค้นหา ในตัวอย่างจะพิมพ์คำว่า วิทยาศาสตร์
    3. คลิกปุ่ม ค้น
 
    4. จากนั้นจะปรากฏรายชื่อของเว็บที่มีข้อมูล
    5. คลิกเว็บที่จะเรียกดูข้อมูล
 
                หลักการใช้คำในการค้นหาข้อมูล  
การสืบค้นแบบใช้คีย์เวิร์ด เช่น ถ้าต้องการจะสืบค้นเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของเครื่องคอมพิวเตอร์ การค้นหาจึงต้องการเนื้อหาที่เจาะลึก การสร้างคำ คีย์เวิร์ด ต้องใช้คำที่เจาะลึกลงไปเพื่อให้ได้ข้องมูลที่เฉพาะคำมากยิ่งขึ้น
1. การใช้คำที่คิดว่าจะมีในเว็บที่ต้องการจะค้นหา เช่น ต้องการจะหาข้อมูลเกี่ยวกับ บุคคล ที่ชื่อว่า นาย อุบล ถ้าเราพิมพ์ข้อมูลที่ช่อง Search ว่า อุบล แล้วทำการค้นข้อมูล Search Engine จะทำการค้นหาคำ โดยจะค้นหารวมทั้งคำว่า
จังหวัดอุบล     อุบลราชธานี     คนอุบล   วิทยาลัยเกษตรอุบล      เทคโนโลยีอุบล
ซึ่งเราจะเจอะ ข้อมูลจำนวนมาก ดังนั้นการใช้คำในการค้นหาข้อมูลจึงต้องใช้คำเฉพาะเพื่อให้ได้ข้อมูลที่น้อยลง เช่น อาจจะพิมพ์คำว่า นาย อุบล พิมลวรรณ ซึ่งข้อมูลจะมีจำนวนที่น้อยลง
2. ใช้เครื่องหมาย คำพูด  (“ _ ”) เพื่อกำหนดให้เป็นกลุ่มคำ เช่น จะค้นหาคำ ชื่อหนังสื่อที่ชื่อว่า โปรแกรม PhotoShop สังเกตว่าคำที่จะค้นหา จะเป็นคำที่ต้องเว้นวรรค แต่เมื่อมีการสืบค้นด้วย Search Engine ระบบจะค้นหาคำแบ่งเป็นสองคำ คือคำว่า โปรแกรม และคำว่า PhotoShop จึงทำให้ข้อมูลที่ได้ผิดพลาด ดังนั้นการสร้างคำ จึงต้องกำหนดคำด้วยเครื่องหมายคำพูด จึงใช้คำว่า “โปรแกรม PhotoShop” ในการค้นหาแทน
3. ใช้เครื่องหมาย ลบ (-) ไว้หน้าคำที่ไม่ต้องการจะให้ปรากฏอยู่ในรายการแสดงผลของการค้นหา เช่น ต้องการหาชื่อโรงเรียน แต่ทราบแล้วว่าโรงเรียนที่จะค้นหาไม่ใช้โรงเรียนอนุบาล จึงต้องยกเลิกคำว่าอนุบาล โดยพิมพ์คำว่า โรงเรียน  -อนุบาล ผลที่ได้จะทำให้มีเฉพาะคำว่า โรงเรียน ทั้งหมดแต่จะค้นหาคำว่า อนุบาล (*การพิมพ์เครื่องหมาย ลบกับคำที่จะยกเลิกต้องติดกัน มิฉะนั้นระบบจะเข้าใจว่าจะค้นหาคำ 3 คำ คือ คำว่า โรงเรียน คำว่า + และคำว่า อนุบาล*)
                    การสืบค้นข้อมูลภาพ
ในกรณีที่นักเรียนต้องการที่จะค้นหาข้อมูลที่เป็นภาพ เพื่อนำมาประกอบกับรายงาน มีวิธีการค้นหาไฟล์ภาพได้ดังนี้
    1. เปิดเว็บ www.google.co.th
    2. คลิกตัวเลือก รูปภาพ
    3. พิมพ์กลุ่มชื่อภาพที่ต้องการจะค้นหา (ตัวอย่างทดลองหาภาพเกี่ยวกับ เสือ)
    4. คลิกปุ่ม ค้นหา
 
    5. ภาพทีค้นหาพบ
    6. การนำภาพมาใช้งาน ให้คลิกเมาส์ด้านขวาที่ภาพ > Save Picture as
 
    6. กำหนดตำแหน่งที่จะบันทึกที่ช่อง Save in
    7. กำหนดชื่อที่ช่อง File Name
    8. คลิกปุ่ม Save
                            การบันทึก
หลังจากที่มีการสืบค้นข้อมูล ในกรณีที่ถูกใจเนื้อหาของเว็บที่สืบค้น และต้องการจะเก็บบันทึกข้อมูลที่ค้นพบเก็บไว้ มีวิธีการบันทึกข้อมูลได้หลายวิธี ได้แก่  การบันทึกชื่อเว็บ (Favorites) การบันทึกภาพ (Save as Picture) การบันทึกเนื้อหาที่เป็นตัวอักษร (Copy) การบันทึกเว็บเก็บไว้ (Save as) การบันทึกชื่อเว็บ (Favorites)
การบันทึกชื่อเว็บ (Favorites) ใช้ในกรณีที่เปิดเว็บเพ็จที่น่าสนใจมาศึกษา ในกรณีที่จะกลับมาศึกษาใหม่ในวันต่อไป เราต้องบันทึกชื่อเว็บเก็บไว้ที่ Favorites เพื่อเรียกใช้งานในครั้งต่อไป มีวิธีการกำหนดได้ดังนี้
    1. คลิกเมนู Favorites > Add Favorites
    2. กำหนดชื่อที่ช่อง Name
    3. คลิกปุ่ม OK

การเปิดเว็บโดยใช้ Favorites
หลังจากที่สร้าง Favorites มาแล้ว ในกรณีที่เรียกใช้งาน โดยการเปิดเว็บผ่านทาง Favorites มีวิธีการสร้างได้ดังนี้
    1. คลิกเมนู Favorites > คลิกที่เว็บที่บันทึกเป็น Favorites เก็บไว้  
 
การบันทึกเนื้อหาที่เป็นตัวอักษร (Copy)
ในกรณีที่ต้องการจะบันทึกเนื้อในส่วนที่เป็นตัวอักษรเก็บไว้เพื่อนำไปประกอบกับรายงาน โดยมีวีการกำหนดได้ดังนี้
    1. เปิดเว็บที่ต้องการจะบันทึกเนื้อหา  
    2. ป้ายดำเลือกข้อความที่จะบันทึกเก็บไว้
    3. คลิกเมาส์ด้านขวาที่ตัวอักษร คลิกคำสั่ง Copy
    4. จากนั้นเปิดโปรแกรมบันทึกตัวอักษร โดยคลิกปุ่ม Start > Program > Accessories > Notepad
    5. นำตัวอักษรที่คัดลอกเก็บไว้มาวาง โดยคลิกเมนู Edit > Paste
    6. จากนั้นบันทึกไฟล์เก็บไว้ โดยคลิกเมนู File > Save
    7. กำหนดตำแหน่งในการบันทึกภาพที่ช่อง Save in
    8. กำหนดชื่อที่ช่อง File Name
    9. คลิกปุ่ม Save
http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/nakhonsithamrat/nittaya_c/meaow2/page04_2.htm 

9. คุณธรรมจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต

1. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่น
2. ไม่รบกวนจนงานคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
3. ไม่แอบดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
4. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อลักขโมย
5. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเป็นพยานเท็จ
6. ไม่ใช้หรือทำสำเนาซอฟต์แวร์ที่ตนไม่ได้ซื้อสิทธิ์
7. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยไม่มีอำนาจหน้าที่
8. ไม่ฉวยเอาทรัพย์ทางปัญญาของผู้อื่นมาเป็นของตน
9. คิดถึงผลต่อเนื่องทางสังคมของโปรแกรมที่เขียน
10. ใช้คอมพิวเตอร์ในทางที่แสดงถึงความใคร่ครวญและเคารพ
การ ทำงานอินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์และเกิดประโยชน์ จะทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์และเกิดประโยชน์จะทำให้สังคมอิน เทอร์เน็ต น่าใช้และเป็นประโยชน์ กิจกรรมบางอย่างที่ไม่ควรปฏิบัติจะต้องหลีกเลี่ยง ในการส่งกระจายข่าวลือไปเป็นจำนวนมาบนเครือข่าย การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แบบลูกโซ่ เป็นต้น ดังนั้นนักเรียนควรปฏิบัติตามกฎ กติกา มารยาท หรือ จรรยาบรรณของการรวบรวมเว็บไซด์ต่าง ๆ เอาไว้ เราเพียงแต่ทราบหัวข้อที่ต้องการแล้วเข้าใช้อินเทอร์เน็ตในด้านต่อไปนี้คือ
· การใช้บริการพูดคุยกันแบบออนไลน์ (Chat )
· การใช้กระดานข่าวหรือเว็บบอร์ด
· การใช้บริการพูดคุยกันแบบออนไลน์ (Chat)
บน เครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีบริการโต้ตอบแบบออนไลน์ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Chat ดังนั้นในการสนทนาจะต้องมีมารยาท อีกอย่างหนึ่งว่า Chat ดังนั้นในการสนทนาจะต้องมีมารยาทสำคัญดังนี้
· ควรเรียกสนทนาจากผู้ที่เรารู้จักและต้องการสนทนาด้วย หรือมีเรื่องสำคัญที่จะติดต่อด้วย
· ควรใช้วาจาสุภาพและให้เกียรติซึ่งกันและกัน
· ก่อนเรียกสนทนา ควรตรวจสอบสถานะการใช้งานของคู่สนทนาที่ต้องการเรียก เพราะการเรียกแต่ละครั้งจะมีข้อความไปปรากฎบนจอภาพ ของฝ่ายที่ถูกเรียกซึ่งจะทำให้สร้างปัญหาในการทำงานได้
·การใช้บริการกระดานข่าวหรือเว็บบอร์ด
บน เครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีบริการกระดานข่าวหรือเว็บบอร์ดให้ผู้ใช้แลกเปลี่ยน ความคิดเห็น หรือข้อมูลข่าวสารถึงกัน ดังนั้นในการใช้ บริการควรเคารพกฎ กติกา มารยาทดังนี้
· ในการเขียนพาดพิงถึงผู้อื่น ให้ระมัดระวังการระเมิดหรือสร้างความเสียหายแก่ผู้อื่น
· ไม่ควรนำข้อความที่ผู้อื่นเขียน ไปกระจายต่อโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเข้าของเรื่อง
· ไม่ควรใช้ข้อความขบขัน คำเฉพาะ คำกำกวม และคำหยาบคายในการเขียนข่าว
· ในการเขียนคำถามลงในกลุ่มข่าวจะต้องเขียนให้ตรงกับกลุ่มและเมื่อจะตอบต้องตอบให้ตรงประเด็น
 จริยธรรมในการใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
1. ไม่โฆษณาหรือเสนอขายสินค้า
2. รู้ตัวว่ากำลังกล่าวอะไร
3. ถ้าไม่เห็นด้วยกับหลักพื้นฐานของรายชื่อกลุ่มที่ตนเป็นสมาชิก ก็ควรออกจากกลุ่มไม่ควรโต้แย้ง
4. คิดก่อนเขียน
5. อย่าใช้อารมณ์
6. พยายามอ่านคำถามที่ถามบรอย (FAQ) ก่อนเสมอ
7. ไม่ส่งข่าวสารที่กล่าวร้าย หลอกลวง หยาบคาย ข่มขู่
8. ไม่ส่งต่อจดหมายลูกโซ่ หรือเมล์ขยะ
9. ถ้าสงสัยไม่ทำดีกว่า
10. รู้ไว้ด้วยว่าสำหรับผู้เขียน คือ บันทึกฉันท์เพื่อน แต่สำหรับผู้รับ คือ ข้อความที่จารึกไว้บนศิลาจารึก
11. ให้ความระมัดระวังกับคำเสียดสี และอารมณ์ขัน
12. อ่านข้อความในอีเมล์ ให้ละเอียดก่อนส่ง ความประณีตและตัวสะกด การันต์ เป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึง
13. ดูรายชื่อผู้รับให้ดีว่า เขาคือคนที่เราตั้งใจจะส่งไปถึง
http://linblog21.blogspot.com/

10. ผลกระทบในการใช้อินเทอร์เน็ต

1.อาจจะทำให้เป็นโรคติดอินเตอร์เน็ตได้

2.ทำให้เกิดการHacker & Cracker

3.ทำให้ได้เพื่อนไม่จริงใจจากอินเตอร์เน็ต

4.ทำให้เสียสุขภาพทางสายตา

5.อาจจะเกิดการล่อลวงไปในทางที่ผิด

6.อาจจะถูกล่อลวงในซื้อสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน สินค้าด้อยคุณภาพ

7.ทำให้เด็กเสียการเรียน

ประโยชน์ของบล็อก

1.สามารถเป็นสื่อแสดงความคิดเห็นได้

2.เป็นเครื่องมือช่วยในด้านการโฆษณาสินค้า

3.เป็นแหล่งความรู้ ที่ถูกต้องและชัดเจน

4.ทำให้ทันต่อเหตุการณ์ในปัจจุบัน

5.สามารถส่งงานได้รวดเร็ว

อินเทอร์เน็ตในอนาคตมีความจำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างไร

1.สามารถได้รับรู้ข่าวสารและเรื่องราวต่างๆในปัจจุบัน

2.สามารถหาข้อมูลต่างๆได้ถูกต้องและรวดเร็ว

3.ใช้โฆษณาสินค้าผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้

ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตที่เป็นประสบการณ์ของนักเรียนเอง

1.ค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้

2.ใช้ในการสือสารกับเพื่อนๆทางอินเตอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็ว

3.ใช้ส่งข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตได้

http://www.l3nr.org/posts/386658